นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ ขร. ได้ลงพื้นที่ตรวจวัดความหนาแน่นของปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ที่สถานีเตาปูน สถานีลาดพร้าว สถานีสุทธิสาร และสถานีห้วยขวาง ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ตรวจวัดความหนาแน่นภายในขบวนรถตลอดเส้นทางจากสถานีเตาปูน ถึงสถานีสีลม พบค่าความหนาแน่นของผู้โดยสารอยู่ในระดับ 2 คือ 5 คนต่อตารางเมตร (ตร.ม.) โดยจากการสังเกตพฤติกรรมผู้โดยสาร เมื่อเห็นว่ารถโดยสารเริ่มหนาแน่นจะไม่ขึ้นรถ รอขบวนถัดไป ขณะที่ภายในขบวนรถโดยสาร ผู้โดยสารมักยืนบริเวณประตูทางเข้าออก ไม่ค่อยเขยิบเข้าไปด้านใน
นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า แม้ค่าความหนาแน่นของผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะยังไม่ถึง 8 คนต่อ ตร.ม. ตามสัญญาสัมปทานที่ระบุว่าหากจะเพิ่มตู้โดยสารต้องมีค่าความหนาแน่นของผู้โดยสาร 8 คนต่อ ตร.ม. แต่ ขร. เห็นว่ามีความจำเป็นที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานควรพิจารณาเพิ่มตู้โดยสารจาก 3 ตู้ต่อขบวน เป็น 4 ตู้ต่อขบวนอย่างเร่งด่วน และพิจารณาเพิ่มจำนวนขบวนรถที่มีในปัจจุบัน 54 ขบวน ให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสาร เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารในอนาคตคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้รายงานผลการตรวจวัดความหนาแน่นและข้อเสนอแนะไปยังกระทรวงคมนาคม (คค.) ตามข้อสั่งการของนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมแล้ว อยู่ระหว่างทำหนังสือไปยังประธานคณะกรรมการกำกับสัญญาตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อพิจารณา และให้แจ้งคู่สัญญาทราบ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ขร. ได้ประชุมหารือร่วมกับ รฟม. และ BEM เรื่องการให้พิจารณาเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเป็น 4 ตู้ต่อขบวนแล้ว เบื้องต้น BEM รับจะเร่งดำเนินการ และได้วางแผนเพิ่มจำนวนตู้โดยสารอยู่ แต่การจัดหาตู้โดยสารต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี และต้องใช้เวลาปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณใหม่ด้วย คำพูดจาก ทดลองสล็อต pg
นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า มั่นใจว่าหาก BEM เพิ่มตู้โดยสารเป็น 4 ตู้ต่อขบวน ปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า(เวลา 07.30-08.30 น.) และเร่งด่วนเย็น (เวลา 17.00-19.00 น.) จะหมดไป ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว เมื่อ 5 ปีก่อน ในขณะนั้นผู้โดยสารหนาแน่นมากเมื่อเพิ่มตู้โดยสารจาก 3 เป็น 4 ตู้ต่อขบวน ปัญหาก็คลี่คลายลง ทั้งนี้การเพิ่มตู้โดยสาร จะส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไปด้วย จะเกิดผลดีต่อผู้ประกอบการ ปัจจุบันผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน มีจำนวนสูงสุดประมาณ 5.7 แสนคนต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการเปิดบริการรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆ
นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ระหว่างนี้ รฟม. และ BEM ยังเพิ่มขบวนรถเสริมช่วงเร่งด่วนเช้าจาก 11 ขบวน เป็น 14 ขบวน และปรับเพิ่มความถี่การให้บริการจาก 3.29 นาทีต่อขบวน เหลือเพียง 2 นาทีต่อขบวนช่วงเวลา 07.30-08.30 น. เพื่อบรรเทาปัญหาความหนาแน่นของผู้โดยสารและช่วงเร่งด่วนเย็น เพิ่มจาก 6 เป็น 8 ขบวน รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกและจัดระเบียบภายในสถานี และขบวนรถโดยสาร ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารบริเวณประตูเข้า-ออก เดินเข้าภายในขบวนรถเพื่อเพิ่มผู้โดยสารเข้าภายในขบวนได้มากขึ้น.