วันที่ 14 ธ.ค. น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทพลิกแข็งค่ามาปรับตัวอยู่ที่ระดับ 35.15-35.17 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.22 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 35.79 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทพลิกแข็งค่า ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ และการร่วงลงอย่างหนักของบอนด์ยีลด์สหรัฐ ตั้งแต่หลังการประชุมเฟด เมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนท่าทีในเชิง Dovish มากขึ้น ผ่านมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดใน dot plots ใหม่คำพูดจาก เว็บสล็อตทดลองเล่น
ซึ่งถูกตีความว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ อาจปรับลดลงประมาณ 75 bps. (ลดลง 3 ครั้ง) หรือ 0.75% ในปี 2567 และยังอาจลดลงต่อเนื่องในปี 2568-2569 นอกจากนี้ เฟดยังปรับลดตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในปี 2567 ลงมาด้วยเช่นกัน
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 35.00-35.30 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การตอบรับต่อสัญญาณ Dovish จากผลการประชุมเฟด ผลการประชุม ECB และ BOE และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ อาทิ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. และดัชนีราคานำเข้าและส่งออกเดือน พ.ย.คำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อตทุกค่ายไม่ต้องสมัคร
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงเร็วและแรง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังผลการประชุมเฟดล่าสุด ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้เร็วขึ้นและลึกกว่าที่เฟดระบุไว้ใน Dot Plot ส่งผลให้ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 102.9 จุด (กรอบ 102.7-104 จุด)
ในส่วนของราคาทองคำ แม้ว่า บรรยากาศในตลาดการเงินจะยังอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง แต่มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงในปีหน้าได้พอสมควร จนทำให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ต่างปรับตัวลดลงชัดเจน ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) รีบาวด์ขึ้นแรงสู่ระดับ 2,045 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยผู้เล่นในตลาดจะจับตาว่า ทั้งสองธนาคารกลางจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย เหมือนกับเฟดหรือไม่ พร้อมกันนั้น ทั้ง BOE และ ECB จะมีการเริ่มส่งสัญญาณพร้อมลดดอกเบี้ยลงในปีหน้า อย่างที่ตลาดกำลังคาดการณ์ หรือไม่
นอกจากผลการประชุมธนาคารกลางหลักดังกล่าว เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้ง ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) และ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เพื่อประเมินว่า มุมมองของตลาดล่าสุด ที่มองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงได้เร็วและลึกกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
ขณะที่แนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า การพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นเร็วและแรงของเงินบาทอาจชะลอลงบ้าง เนื่องจากบรรดาผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจรอจังหวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นในการทยอยซื้อเงินดอลลาร์ ส่วนผู้เล่นในตลาดบางส่วนที่เปิดสถานะ Long THB (มองเงินบาทแข็งค่าขึ้น) ก็อาจเริ่มทยอยขายทำกำไรสถานะดังกล่าวได้บ้าง ทำให้ประเมินว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอาจจำกัดอยู่ในโซนแนวรับหลัก 35.00 บาทต่อดอลลาร์
นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐ ที่อาจส่งผลให้บอนด์ยีลด์ไทยลดลงเช่นกัน ก็อาจทำให้ นักลงทุนต่างชาติบางส่วนทยอยขายทำกำไรบอนด์ไทยได้ อย่างไรก็ดี เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นมากกว่าที่เราประเมินได้ หากนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยได้ หลังจากที่นักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิหุ้นไทยมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนแนวรับ 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจแข็งค่าต่อสู่โซน 34.80 บาทต่อดอลลาร์ได้
ทั้งนี้ ควรระมัดระวังความผันผวนของเงินบาทในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOE และ ECB ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางของสกุลเงินยุโรป ทั้งเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) ได้พอสมควร นอกจากนี้ ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ เพราะหากออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มปรับลดโอกาสเฟด “ลด” ดอกเบี้ย เร็วและลึก กว่าที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่ได้บ้าง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจทำให้เงินดอลลาร์รีบาวด์แข็งค่าขึ้น ส่วนเงินบาทอาจผันผวนอ่อนค่าลงได้เช่นกัน